วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Cloud computing


ความหมายของ Cloud Computing

ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) หมายถึง ทรัพยากรสำหรับการประมวลผลที่มีการจัดเตรียมโดยบุคคลที่สาม ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้ถูกจัดเตรียมไว้ที่ตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์คอมพิวเตอร์  ฝั่งผู้ให้บริการ  จากนั้นผู้ใช้บริการสามารถเข้าไปใช้งานทรัพยากรเหล่านี้โดยการซื้อ หรือเช่าได้ตามความต้องการของผู้ใช้โดยไม่ต้องคำนึงว่าทางผู้ให้บริการทรัพยากร จะบริหารทรัพยากรให้มีความสามารถขยายตัวด้วยวิธีอะไรแนวคิดการใช้งานทางด้าน ไอทีที่ใช้วิธีการดึงสมรรถภาพจากคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องจากสถานที่ต่าง ๆ ให้มาทำงานร่วมกันเพื่อช่วยขยายการบริการทางด้านไอที

ลักษณะเด่นของระบบ Cloud computing

- ประหยัดงบประมาณในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
- ไม่จำกัดสถานที่ในการใช้งานและอุปกรณ์ แค่สามารถออนไลน์เข้าอินเทอร์เน็ตได้ก็สามารถใช้งาน Cloud computing ได้เลย
- กลุ่มผู้ใช้งานมีความต้องการการใช้งานไม่เท่ากัน ทำให้ประหยัดในการลงทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ในการใช้งานใน Cloud computing
- สามารถจัดการหรือปรับเปลี่ยนระบบได้ง่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน (Performance) หรือประหยัดการใช้งานทรัพยากรต่างๆ โดยไม่ต้องใช้วิศวกรที่มีความสามารถสูง ลดภาระด้านการจ้างบุคคล

ประเภทของ Cloud computing

Cloud computing สามารถแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะของ Infrastructure ได้ 3 ประเภท คือ
                  1. Public cloud จะรันและให้บริการบน Cloud’s servers, ระบบเก็บข้อมูล และ networks ที่เป็นของผู้ให้บริการ ซึ่งผู้ใช้บริการต่างๆ จะเข้าไปใช้บริการ Application หรือ Service ที่ต้องการได้ตามที่ผู้ให้บริการได้เปิดให้ใช้บริการ Application หรือ Service นั้น
        2. Private cloud จะรันและให้บริการบน servers, ระบบเก็บข้อมูล และ networks ที่เป็นของผู้ใช้บริการเอง หรือเปิดให้ใช้เฉพาะผู้ใช้บริการรายนั้นๆ โดยที่ผู้ใช้บริการเป็นผู้ควบคุมและจัดการระบบเอง ซึ่งผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ติดตั้ง, Setup และ Support เท่านั้น
        3. Hybrid cloud จะประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมที่เกิดจากผู้ให้บริการหลาย ๆ แหล่งทั้ง Private cloud และ Public cloud โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปทางระบบเอ็นเตอร์ไพรส์ หรือเน้นทางด้านกิจกรรมต่าง ๆ

รูปแบบการให้บริการของ Cloud Computing

รูปแบบการให้บริการของ Cloud computing สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ
                ในระดับ Infrastructure หรือเรียกว่า Infrastructure as a service (IaaS) เหมาะสมกับองค์กรที่ไม่ต้องการลงทุนทางด้าน Hardware ซึ่งก็คือ การให้บริการในด้านต่างๆ ดังนี้
                ทรัพยากร (Resource) ต่างๆ ในรูปของ Service เช่น พวก Server, Memory, CPU, Disk Space หรือ Network Equipment เป็นต้น การขยายขนาดของ Infrastructure ซึ่งสามารถทำให้เล็กหรือใหญ่ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของ Application การกำหนดราคาในการให้บริการแล้วแต่ว่าเราเลือกใช้บริการทรัพยากรในส่วนใด
ในระดับ Platform นั้นเป็นส่วนขยายเพิ่มเติมมาจาก Software as a service หรือ SaaS โดยตัว PaaS ก็คือส่วนที่จะคอยรองรับกระบวนการพัฒนา Web Application หรือ Service ต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการพัฒนาโดยทุกอย่างนั้นอยู่ในอินเตอร์เน็ต ตัวอย่าง workflow สำหรับการออกแบบแอพพลิเคชัน การพัฒนาแอพพลิเคชัน การทดสอบหรือการติดตั้ง และ Hosting เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้นั้นสามารถที่จะสร้างแอพพลิเคชัน อะไรก็ได้ ใช้ Database อะไรก็ได้ ด้วย Logic การทำงานแบบใดก็ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นเครื่องมือเตรียมความพร้อมสำหรับองค์กรต่างๆเข้ามาพัฒนา Software เพื่อที่จะให้บริการในระดับของ Software as a service ในอนาคต
ในระดับ Application หรือที่เรียกกันว่า Software as a service หรือ SaaS นั้น มี Software ระดับ Enterprise ให้เลือกใช้อย่างมากมาย โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก นั่นคือการให้บริการ Software ในรูปแบบ Service เล็กๆ ที่ทำหน้าที่เฉพาะทาง ทำงานตาม function ที่กำหนดไว้ ไม่ได้ทำงานเหมือน application ใหญ่ๆ ที่มีความสามารถมากมายรวมอยู่ในตัวเดียว โดยการใช้งานนั้นผู้ใช้ SaaS เองไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ Service นั้นๆ เพราะเราสามารถเลือกใช้บริการ service ของผู้ให้บริการใดก็ได้ในลักษณะของการเช่า หรือสมัครเป็นสมาชิกเพื่อใช้งาน Service นั้นๆ ผู้ให้บริการมีหน้าที่ให้บริการและ สร้าง Service ใหม่ๆขึ้นมา และดูแลระบบต่างๆ ให้สามารถให้บริการตัว Service นั้นได้ตามความต้องการของลูกค้า การให้บริการ Applications ต่างๆ ตัวอย่างง่ายๆ ได้แก่ Google Apps หรือว่าการให้บริการ E- mail ก็ถือเป็น Saas รูปแบบหนึ่ง

การใช้ Cloud computing ในการเรียนการสอน

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมที่หลากหลายของคนในสังคม โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งจำเป็นของสังคม ทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน ธุรกิจ การศึกษา และบันเทิง เทคโนโลยี Cloud-computing เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวคิดการทำงานบนอินเตอร์เน็ต ที่แพร่หลายและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย Cloud-computing เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการบูรณาการวิทยาการทางเครือข่ายและคอมพิวเตอร์  การจัดเก็บข้อมูล การบริการทรัพยากรข้อมูลไว้ด้วยกัน

ข้อดี ข้อเสีย ของ Cloud Computing

ข้อดี
1. ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งานจริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย
2. ลดความเสี่ยงจากการเริ่มต้นหรือทดลองโครงการ
3. มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบตามความต้องการ
4. ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็วสูง
5. มีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบและพร้อมให้บริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง

ข้อเสีย
1. เนื่องจากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการ Host ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง
2. ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล

3. ความไม่มีมาตรฐานของแพลทฟอร์ม ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ




E-Book หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ความหมาย

E-Book คือ อีบุ๊ค” (e-Book , e-Book , eBook , EBook) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ มี ลักษณะพิเศษคือสามารถสื่อสารกับผู้อ่านในลักษณะของมัลติมีเดียได้ ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง แต่ยังคงรักษารูปแบบความเป็นหนังสือไว้ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หรือลักษณะการเปิดอ่านไว้ด้วย

ลักษณะ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีโครงสร้างเหมือนๆกับหนังสือเล่มทั่วๆที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือกระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ ซึ่งโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
                - หน้าปก (Front Cover) หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่าหนังสือเล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
                - คำนำ (Introduction) หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น
-สารบัญ (Contents)หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง อยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้
- สาระของหนังสือแต่ละหน้า (Pages Contents) หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่ม ประกอบด้วย - หน้าหนังสือ (Page Number) - ข้อความ (Texts) - ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
- เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi- ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg, .wav, .avi - จุดเชื่อมโยง (Links)
-อ้างอิง (Reference)หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์ก็ได้.
- ดัชนี (Index) หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษรให้สะดวกต่อการค้นหา พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
- ปกหลัง (Back Cover) หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม

ประเภท

E-Book หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถแบ่งประเภทออกเป็น 10 ประเภท
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือแบบตำรา (Textbooks)
2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบหนังสือเสียงอ่าน มีเสียงคำอ่าน
3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือภาพนิ่ง หรืออัลบั้มภาพ (Static Picture Books)
4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบหนังสือภาพเคลื่อนไหว (Moving Picture Books)
5. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อประสม (Multimedia)
6. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อหลากหลาย (Polymedia
7. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือเชื่อมโยง (Hypermedia Book)
8. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสืออัจฉริยะ (Intelligent Electronic Books)
9. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบสื่อหนังสือทางไกล (Telemedia Electronic Books)
10. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือไซเบอร์เสปซ (Cyberspace Books)

รูปแบบการทำงาน

E-Book หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น มีรูปแบบการแสดงผลแบบพลิกอ่านคล้ายกับการเปิดหนังสือจริงทีละหน้า ในรูปแบบ 3 มิติ ซึ่งยังคงรูปแบบของหนังสือทั่วไป ๆ ก็คือ มีหน้าปก สารบัญ ข้อความ รูปภาพ ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกเหมือนได้เรียนรู้จากหนังสือจริง ๆ และที่สำคัญ E-Book หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น ยังสามารถแทรกภาพเคลื่อนไหว ไฟล์ภาพยนตร์ ไฟล์ Flash เพิ่มเสียงบรรยายและสร้างลิงค์ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ทำให้กลายเป็นสื่อที่มีความทันสมัย น่าสนใจ ซึ่งสื่อที่ได้ออกมานั้นจะมีไฟล์ขนาดเล็ก ทำให้ผู้ที่อ่าน หรือผู้ที่ใช้งานสามารถดาวน์โหลดผ่านเว็บ หรือ ส่งผ่านอีเมล์ และสามารถเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

การประยุกต์ใช้กับการศึกษา

E-Book จัดว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจจากนักการศึกษา และ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา Electronic Bookจะครอบคลุมหนังสือทั่ว ๆ ไปที่จัดทำแล้วสามารถอ่านได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการอ่านโปรแกรมโดยเฉพาะตำราอิเล็กทรอนิกส์จะเป็น Electronic Book ประเภทหนึ่งที่จำเป็นต้องนำมาจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนในสังคมการเรียนรู้ในปัจจุบัน

ข้อดี

1. เป็นสื่อที่รวมเอาจุดเด่นของสื่อแบบต่าง ๆ มารวมอยู่ในสื่อตัว
 2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาวิชาได้เร็ว
3. ครูสามารถใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการชักจูงผู้เรียนในการอ่าน, การเขียน, การฟัง และ การพูดได้
4. มีความสามารถในการออนไลน์ผ่านเครือข่ายและเชื่อมโยงไปสู่โฮมเพจและเว็บไซต์   ต่าง ๆ
5. หากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตจะทำให้การกระจายสื่อทำได้
 6. สนับสนุนการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน ห้องสมุดเสมือนและห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
7. มีลักษณะไม่ตายตัว สามารถแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
8. ในการสอนหรืออบรมนอกสถานที่ การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น
9. การพิมพ์ทำได้รวดเร็วกว่าแบบใช้กระดาษ สามารถทำสำเนาได้เท่าที่ต้องการ ประหยัดวัสดุในการสร้างสื่อ
10. มีความทนทาน และสะดวกต่อการเก็บบำรุงรักษา ลดปัญหาการจัดเก็บเอกสารย้อนหลัง
11. ช่วยให้นักวิชาการและนักเขียนสามารถเผยแพร่ผลงานเขียนได้อย่างรวดเร็ว

ข้อจำกัด

1. ต้องมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และเครือข่าย นอกจากตั้งใจเรียนเนื้อหา
2. ความยากในการวิเคราะห์และออกแบบเนื้อหา สำหรับการจำลองหรือแสดงผลเนื้อหาให้ง่ายต่อการอ่าน
 3. คนไทยส่วนใหญ่ยังคงชินอยู่กับสื่อที่อยู่ในรูปกระดาษมากกว่า อีกทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่สมารถใช้งานได้งายเมื่อเทียบกับสื่อสิ่งพิมพ์ และความสะดวกในการอ่านก็ยังน้อยกว่ามาก
4. หากโปรแกรมสื่อมีขนาดไฟล์ใหญ่มากๆ จะทำให้การเปลี่ยนหน้าจอมีความล่าช้า
5. การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี ผู้สร้างต้องมีความรู้ และความ ชำนาญในการใช้
 6. ผู้ใช้สื่ออาจจะไม่ใช่ผู้สร้างสื่อฉะนั้นการปรับปรุงสื่อจึงทำได้ยากหากผู้สอนไม่มีความรู้ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์

7. ใช้เวลาในการออกแบบมาก เพราะต้องใช้ทักษะในการออกแบบเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพ






                                                                สมาชิกกลุ่ม


นางสาวดารินทร์            เรืองทองดี           534116210
นายประสิทธิ์พร             มาตรพรหม           534116221
นางสาวสุดารัตน์           คำโคตรสูนย์        534116234
นางสาวสุนันท์              อ่อนอ่ำ                 534116236
นางสาวเจนจิรา            ปุ่มเพชร                534116250


วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

CMS

ประวัติความเป็นมาของ CMS

                เริ่มต้นจาก อินเทอร์เน็ตได้ถือกำเนิดขึ้นมา โลกของเราก็เปลี่ยนแปลงไปมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ทำได้ด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น และการพัฒนาของภาษาหรือซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตก็เติบโตขึ้นมามากเช่นกัน
ถ้าจะกล่าวถึงเมื่ออดีต ภาษา HTML คงเป็นภาษาที่ยอดนิยมในการที่จะทำการสร้างเว็บเพจหรือเว็บไซต์ขึ้นมา แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาภาษาในการทำเว็บไซต์ขึ้นมาอีกมากมาย และภาษาที่นิยมมากตัวหนึ่งจนมาถึงปัจจุบันก็คือภาษา PHP เนื่องจากสามารถโหลดมาใช้งานได้ง่ายและมีตัวอย่างให้เลือกใช้มากมาย ซึ่งสิ่งนี้เองก็เป็นต้นกำเนิดของการทำเว็บไซต์แนวใหม่ที่เรียกว่า CMS

ความหมาย

           CMS ย่อมาจาก Content Management System เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ โดยที่ตัว CMS เองมีโปรแกรมประยุกต์ พร้อมใช้งานอยู่ภายในมากมาย

ลักษณะของ CMS

              ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration panel (เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ (Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า (Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่
- การนำเสนอบทความ (Articles)
- เว็บไดเรคทอรี (Web directory)
- หัวข้อข่าว (Headline)
- รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ (Weather)
- เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ (News)
- ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ (Information)

ประเภทของ CMS ในการสร้าง Website

1. Blog – บล็อก หรือ เว็บบล็อก เป็นเว็บประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าว การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ
2. E-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) – เป็น CMS ส่วนของการทำร้านค้า Online สามารถที่จะใช้ในการซื้อของ ซึ่งสามารถที่จะเพิ่มรายการสินค้า ราคา ทำหน้าร้านได้ กำลังได้รับความนิยมขึ้นมาเรื่อยๆ
3. E-Learning เป็น CMS ที่ใช้ในการทำงานสื่อการเรียนการสอน หรือ CAI แต่สามารถที่จะทำเป็นระบบ Online ได้ เหมาะสำหรับ กระเป๋านักเรียน ครู คณาจารย์ หรือสถานศึกษาต่างๆ สามารถสร้างแบบทดสอบต่างๆได้
4. Forums (กระดานข่าว) – เป็น CMS ที่ใช้ในการตั้งกระทู้ถามตอบปัญหาหรือทำเป็นชุมชนต่างๆ โดยจะมีการแบ่งเป็นหัวข้อหรือหมวดต่างๆ ตามความสนใจของผู้เข้าชม
5. Groupware – เป็น CMS ที่ออกแบบมาเพื่อที่จะช่วยการทำงานในองค์หรือหน่วยงานให้มีความสัมพันธ์กัน และมีความรวดเร็วในการทำงาน สามารถทำงานเป็นทีมและควบคุมการทำงานได้
6. Image Galleries – เป็น CMS ที่กำลังได้รับความนิยมอีกตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้โดย CMS ประเภทนี้จะใช้ในการจัดการอัลบั้มภาพหรือทำ Galleries ก็จะมีฟังก์ชันในการใช้งานโดยการแบ่งเป็นหมวดหมู่ของภาพ สามารถกำหนดขนาดภาพ ขนาดไฟล์ หรือบางตัวสามารถที่จะทำการย่อภาพลงมาตามที่กำหนดได้เอง

รูปแบบการทำงานของ CMS

           มีการแบ่ง CMS นั้นอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับประโยชน์ที่ใช้แบ่งตามรูปแบบการพัฒนาCMS เพื่อการค้าขาย เป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อการค้าขาย จะเป็นรูปแบบที่มีการพัฒนาที่มีความสามารถที่ดีและหลากหลายด้วย CMS แบบฟรีแวร์เป็นการสร้างเพื่อประโยชน์แก่สาธารนะชนโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆในการใช้งานเป็นเภทนี้ในปัจจุบันก็มีความสามารถที่หลากหลายเช่นกันเพราะโปรแกรมเมอร์ที่เข้ามาพัฒนานั้นได้ร่วมกันสร้างในมีความสามารถที่ดีและมีหลายชื่อ และความสามารถที่แตกต่างกัน CMS ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเองหรือภายในองค์กร ในหลายอย่างที่ต้องการ CMS ที่มีความสามารถเฉพาะทาง จำต้องมีการพัฒนาเอง

การประยุกต์ใช้กับการศึกษา

           ระบบ CMS สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ ได้หลากหลาย ในด้านการศึกษา สามารถใช้ในการสร้างเว็บไซต์สถาบันการศึกษา อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของระบบ E-Learning เป็น CMS ที่ใช้ในการทำงานสื่อการเรียนการสอน หรือ CAI แต่สามารถที่จะทำเป็นระบบ Online ได้ เหมาะสำหรับ เป็น กระเป๋านักเรียน ครู คณาจารย์ หรือสถานศึกษาต่างๆ สามารถสร้างแบบทดสอบต่างๆได้ ทำให้เกิดความสะดวกสบาย ในการเรียนการสอนทำให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่

ข้อดีของ CMS

1.ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการทำเว็บไซต์ เพียงแค่เคยพิมพ์ หรือเคยโพส ข้อความใน อินเทอร์เน็ต ก็สามารถมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้
2.ไม่เสียเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์ ไม่เสียเงินจำนวนมาก
3.ง่ายต่อการดูแล เพราะมีระบบจัดการทุกอย่างให้เราหมด
4.มีระบบจัดการที่เราสามารถหามาใส่เพิ่มได้มากมาย อย่างเช่น ระบบแกลลอรี่
5.สามารถเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ได้ง่ายๆ เพียงแค่โหลดทีม (Theme) ของ CMS นั้นๆ

ข้อเสียของ CMS

1.ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการออกแบบทีม (หน้าตาของเว็บ) เอง จะต้องใช้ความรู้มากกว่าปรกติ เนื่องจาก CMS มีหลายๆระบบมารวมกันทำให้เกิดความยุ่งยาก สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้
2.ผู้ใช้จะต้องศึกษาระบบ CMS ที่ผู้พัฒนาสร้างขึ้นมา เช่นจะต้องใส่ข้อความลงตรงไหน จะต้องแทรกภาพอย่างไร ซึ่งจะลำบากเพียงแค่ช่วงแรกเท่านั้น
3.ในการใช้งานจริงนั้นจะมีความยุ่งยากในการ set up ครั้งแรกกับ web server แต่ปัจจุบันก็มีผู้บริการ web server มากมายที่เสนอลงและ set up ระบบ CMS ให้ฟรีๆโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Learning Management System (LMS)

ความหมาย

                LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้

ลักษณะของ LMS

              เป็นคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อบันทึกและจัดข้อมูลการเรียนการสอนโดยโปรแกรมจะทำหน้าที่ตรวจสอบการเข้ามาใช้บทเรียนและออกจากบทเรียนของผู้เรียนตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนในแต่ละบทรวมทั้งการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์คะแนนสอบของผู้เรียนแต่ละคนด้วยตัวเอง LMS ก็เปรียบเสมือนกับโรงเรียนเมื่อคุณล็อกอินเข้าสู่ระบบ LMS เพื่อเข้าเรียนก็เหมือนกับคุณก้าวเท้าเข้าสู่ประตูโรงเรียนคุณสามารถทำอะไรก็ได้ใน LMS เหมือนกับที่คุณทำได้ในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นการเลือกวิชาที่จะลงเรียน การเข้าไปอ่านเนื้อหาของบทเรียน ทำแบบฝึกหัด ทำแบบทดสอบและมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ผู้สอนหรือนักเรียนคนอื่นๆ อาจารย์ผู้สอน, ผู้ดูแลระบบ, ผู้จัดการ สามารถสังเกตดูพฤติกรรมการเข้าเรียนของคุณผ่านข้อมูลที่ได้ถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลของ LMS

ประเภทของ LMS

                LMS สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันตามการใช้งาน ประเภทแรกคือ กลุ่มซอฟท์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีลิขสิทธิ์ในการใช้งานแบบ GPL ส่วนประเภทที่สองคือ กลุ่มซอฟต์แวร์เอกชนเพื่อธุรกิจ ซึ่งต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ให้กับบริษัทแม่ซึ่งเป็นเจ้าของซอฟท์แวร์ LMS พวกนี้
1.กลุ่มซอฟท์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ได้แก่
• Moodle (www.moodle.org) (แพร่หลายมากที่สุด)
• ATutor (www.atutor.ca)
2.กลุ่มซอฟร์แวร์เอกชนเพื่อธุรกิจ ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ได้แก่
• Dell Learning System (DLS) (www.dell.com)
 • De-Learn (www.de-learn.com)

รูปแบบการทำงานของ LMS

                สำหรับผู้ใช้งานในระบบ LMS นั้นสามารถที่จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน คือ
1. กลุ่มผู้บริหารระบบ (Administrator) ทำหน้าที่ในการติดตั้งระบบ LMS การกำหนดค่าเริ่มต้นของระบบ การปรับแต่งระบบ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบฉากหลังเว็บ การเพิ่มเติมโปรแกรมอิสระ เป็นต้น
2. กลุ่มอาจารย์หรือผู้สร้างเนื้อหาการเรียน (Teacher) : ทำหน้าที่ในการจัดการเนื้อหา บทเรียนต่างๆ เข้าระบบ
3. กลุ่มผู้เรียน (Student) : หมายถึงนักเรียน นักศึกษา ที่สมัครเข้าเรียนตามหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งการทำแบบฝึกหัด

การประยุกต์ใช้กับการศึกษา

          ปัจจุบันการเรียนการสอนได้มีการพัฒนา E-Learning มาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีการสร้าง Software การบริหารจัดการการเรียนการสอนในรูปแบบ E-Learning ขึ้นมากมายทั้งที่เป็น Open Source หรือเป็น software ที่มีลิขสิทธิ์ ต่างๆ ซึ่งในการพัฒนาระบบ E-Learning ในปัจจุบัน ได้นำ“ระบบบริหารจัดการเรียนการสอนที่เรียกว่าระบบแอลเอ็มเอส (LMS)” หรือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านทางเว็บไซต์ ดังนั้น การนำระบบแอลเอ็มเอส (LMS) มาประยุกต์ใช้จะทำให้เกิดคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ ในด้านการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น

ข้อดีของ LMS

1.ระบบจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน ครอบคลุมเครื่องมือที่หลากหลายขึ้นมาก
2. รายการของเครื่องมือบนระบบการจัดการการเรียนการสอนที่ใช้ในการประเมินมีการจัดระบบที่ไม่สลับซับซ้อน
3. การพัฒนาระบบการจัดการการเรียนการสอนในปัจจุบันยังครอบคลุมในด้านของคุณภาพของเครื่องมือบางประเภทด้วย
4. การเรียนการสอนส่วนใหญ่ในขณะนี้สามารถนำไปเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ
5. ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดระบบฯ มาพัฒนา หรือปรับใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ข้อเสียของ LMS

1. เครื่องมือต่างๆ ที่มีการพัฒนายังไม่สามารถสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามหลักทางครุศาสตร์
2. ทางด้านการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งยังไม่ยืดหยุ่นเพียงพอสำหรับความต้องการของผู้สอน
3. จึงทำให้การจัดการเรียนรู้ด้วยระบบฯ ที่ได้พัฒนาขึ้นมักอยู่ในลักษณะซ้ำๆ

e-Portfolio

 ความหมาย

              ระบบที่ช่วยในการสร้างและเผยแพร่แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ในระบบ Online ผ่านทาง Internet สำหรับบุคคลและองค์กรต่างๆที่ต้องการสะสมผลงานเป็นการนำเสนอเอกลักษณ์ ปรัชญา เป้าหมาย ทักษะ ความสามารถ ผลงานของเจ้าของผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลและเนื้อหาสาระมาจากแฟ้มผลงาน (hard copy portfolio) เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลสำหรับการนำเสนอตรวจสอบการเรียนรู้หรือการทำงานว่าประสบความสำเร็จในระดับใด โดยใช้เทคนิคการนำเสนอแบบ web

ลักษณะแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)

แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เครื่องมือสาหรับการเรียนรู้ โดยใช้บันทึกสิ่งที่เรียนรู้ การแสดงความคิดเห็นที่เกิดจากการทางาน การค้นคว้าข้อมูล
2. เครื่องมือที่สาหรับแสดงสมรรถนะ แสดงความเชี่ยวชาญ ความรู้ ทัศนะและทัศนคติของเจ้าของแฟ้มในงานของตน
3. เครื่องมือสาหรับการประเมินทั้งการประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) ประเมินกระบวนการทางานและการประเมินผลลัพธ์ (summative evaluation) ประเมินผลงานที่เป็นผลจากการดำเนินงาน การประเมินจะต้องแสดงให้เห็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง สาหรับวางแผนการพัฒนาสมรรถนะในอนาคต

องค์ประกอบของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์

การสร้างแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
2. เนื้อหาของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
3. การพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
4. การประเมินตนเอง
5. ระบบการจัดการอิเล็กทรอนิกส์
6. การประเมินผลแฟ้มสะสมงานเล็กทรอนิกส์

การประยุกต์ใช้กับการศึกษา

นักเรียน
* ตู้โชว์ความสำเร็จบนหน้าเว็บ
* รวบรวมและสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานของนักเรียน
* แลกเปลี่ยนประสบการณ์การศึกษาและการทำงานของนักเรียน
* สร้างงานแบบไดนามิก
* สร้างแผนของการศึกษาออนไลน์และการทำงานกับที่ปรึกษาของนักเรียน
อาจารย์ผู้สอน
* สร้างโครงการ/ผลงานที่มีเกณฑ์การให้คะแนน
* สร้างโครงการร่วมกับอาจารย์ผู้สอนรายวิชาอื่น
* สามารถทำงานออนไลน์ ให้นักศึกษาความเห็นและให้คะแนนได้ 
* สร้างแฟ้มผลงานที่ส่งเสริมการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียน
* ตู้โชว์ความสำเร็จ
สถาบันการศึกษา
* เก็บงานของนักเรียน เพื่อการประเมินผล
* เลือกทำงานแบบสุ่มและไม่ระบุชื่อ
* ใช้เกณฑ์การให้คะแนนตามผลงานที่ปรากฏ
* สร้างรายงานผลการจัดการเรียนการสอนได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น
* ส่งออกข้อมูลดิบสำหรับการวิเคราะห์ต่อไป
ข้อดีของ e-Portfolio
1. ลดการใช้ทรัพยากรสานักงาน เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ เป็นต้น
2. สะดวกต่อการบริหารจัดการ สามารถส่งข้อมูลที่เป็นทั้ง ภาพ เสียงและภาพเคลื่อนไหว ได้ทุกที่ ทุกเวลา
3. สะดวกสาหรับผู้บริหารในการพิจารณาผลการประเมินสมรรถนะของบุคลากรในสายบังคับบัญชา
4. นำเสนอผลงานซึงสามารถจัดแสดงผลงานได้อย่างตรงจุดในสิ่งต้องการ นำเสนอ
5. เข้าถึงผลงานได้โดยสะดวกและการจัดระบบผลงานทำให้ประหยัดเนื้อที่ที่เก็บผลงาน
6. เก็บสะสมผลงานได้หลายรูปแบบ ทั้งรูปภาพ เสียง วิดีโอ ข้อความ สื่อ มัลติมีเดียต่างๆ
7. แก้ไขและปรับปรุงแฟ้มสะสมผลงานได้อย่างสะดวก
8. เชื่อมโยงข้อมูลผลงานโดยสามารถอ้างอิงผลงานร่วมกันได้
ข้อจำกัดของ e-Portfolio
1. การแก้ไข e-Portfolio ในทุกครั้งต้องทำการแก้ไขบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
2. ผู้ชมที่ไม่มีความรู้เรื่องอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถเข้าชม e-Portfolio ได้
3. ผู้เรียนและผู้สอน มีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
4. ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถทำ e-Portfolio ด้วยตนเองได้

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

U-Learning

ประวัติ U-Learning

          นายบิล เกตส์ แห่งบริษัทไมโครซอฟต์ยังได้กล่าวถึงความสำคัญวิวัฒนาการจากการเรียนในลักษณะ E-Learning สู่ U-Learning ซึ่งหมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเราโดยอาศัยการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างอิสระดังนั้นการเรียนแบบ U-Learning จึงสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและโดยทุกเครื่องมือในการเข้าถึงการเรียนรู้โดยไม่จำกัดเฉพาะการเข้าถึงโดยมีเครื่องมือ เช่น โน้ตบุ๊ก PDA หรือ มือถือประเภทต่างๆเป็นต้นที่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของการประยุกต์ใช้ไอทีในด้านการศึกษาไว้ว่าประโยชน์สูงสุดของไอทีได้แก่การนำไอทีมาใช้เพื่อการศึกษาเรียนรู้
ความหมาย U-Learning
              -Learning มาจากคำว่า Ubiquitous Learning ซึ่งเป็นภาษาลาตินมีความหมายว่าอยู่ในทุกแห่งหรือ มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ซึ่ง U-Learning เป็นการผสมผสานกันของ E-Learning กับ M-Learning เป้าหมายให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามกระบวนการของ E-Learning โดยใช้อุปกรณ์ที่เป็นทั้งเครื่อง PC ที่มีระบบเครือข่ายทั้งชนิดใช้สายและไร้สายผสมผสานไปกับอุปกรณ์อื่น
ลักษณะของ U-Learning
             1.  Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้มาจากที่ใดก็ได้และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียนเพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
             2.  Multimedia สื่อ ที่นำเสนอในเว็บประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
               3.  Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ
                4.  Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม Links ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้วและผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว


รูปแบบการทำงานของ U-Learning
                1. Common Store สามารถแบ่งรายละเอียดออกเป็น 2 กลุ่มที่สำคัญ คือ
                - กลุ่มแรก ได้แก่ Learning objects และ Learning tasks เป็นส่วนที่ใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ประกอบด้วย ข้อความ รูภาพ เสียง วิดีโอ เว็บไซต์ สื่อนำเสนอต่างๆ
                - กลุ่มที่สอง ได้แก่ Learning, exposition learning communications และ administrative functions เป็นส่วนที่พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรมอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและควบคุมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
              2. Filtering criteria เป็นส่วนที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมาจาก Common Store แล้วทำการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่ากำลังสื่อสารไปยัง Desktop หรือ Mobile
               3. Rendering criteria เป็นส่วนที่ทำงานต่อมาจากส่วน Filtering criteria เพื่อทำการเลือกวิธีการนำเสนอให้เหมาะสมกับสื่อที่แตกต่างกันข้อมูลเดียวกันที่ถูกส่งไปยัง Desktop และ Mobile จะสามารถนำเสนอได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามขนาดของจอแสดงผล
การประยุกต์ใช้กับการศึกษา U-Learning
               การเรียนการสอนแบบ U-Learning ในประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เงินลงทุนสูงถึงแม้ว่าปัจจุบันระบบ GPS และอุปกรณ์สื่อสารที่เรียกว่า PDA จะแพร่หลายโดยทั่วไปแต่ราคาก็ยังค่อนข้างสูงนอกจากนั้นผู้เรียนยังต้องมี sensor ที่สามารถตรวจจับขณะเรียนซึ่งมีราคาสูงเกินไปกว่าที่จะนำมาใช้ลงทุนเพื่อการเรียนในระดับบุคคลได้
U-Learning ไม่ใช่ E-Learning ที่มีแต่เครื่องคอมพิวเตอร์และสาย LAN หรือ GPRS ซึ่งส่งภาพและข้อความให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองในระยะไกลแต่ Ubiquitous เป็นการเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้เรียนว่ามีอุปสรรคต่อการทำความรู้และความเข้าใจหรือไม่เพื่อจะได้ให้ข้อมูลเสริมหรือการช่วยด้วยวิธีการอื่นๆที่เหมาะสมตามบริบทการจะเข้าถึงสภาพแวดล้อมเช่นนั้นได้ยังเป็นเทคโนโลยีนำเข้าที่แพงเกินไปสำหรับการเรียนการสอนในประเทศไทย

ข้อดีของ U-Learning
-     การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าผู้ใช้งานจะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ
-     การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้งสถานที่และอุปกรณ์
   การบูรณาการ U-learning นั้นทำให้เกิดประโยชน์ต่อประสบการณ์การเรียนแบบกลางแจ้ง (outdoor) และการเรียนในร่ม (indoor) ตัวอย่างการเรียนกลางแจ้งได้แก่ในส่วนศูนย์กลางของเมือง ในป่า ส่วนการเรียนในร่ม ได้แก่ ในพิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ ห้องปฏิบัติการหรือที่บ้าน

ข้อจำกัดของ U-Learning
-     ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อให้ครอบคลุมถึงขนาด Ubiquitous  ต้องใช้การลงทุนสูงมาก
-     จำนวนผู้ใช้บริการและผู้ที่มีความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวยังน้อยไม่คุ้มค่าการลงทุน

สมาชิกกลุ่ม
นางสาวดารินทร์ เรืองทองดี            534116236
นายประสิทธิ์พร   มาตรพรหม           534116221
นางสาวสุดารัตน์ คำโคตรสูนย์         534116234
นางสาวสุนันท์     อ่อนอ่ำ                 534116236
นางสาวเจนจิรา   ปุ่มเพชร                534116250
หมู่เรียน  53/25



M-Learning


                                    http://mlearning.wu.ac.th/moodle145/login/index.php
      

           ประวัติ  M-Learning
               M-Learning นั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นช่องทางใหม่ที่จะกระจายความรู้สู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ M-Learning เป็นสิ่งที่น่าสนใจของนักการศึกษาเพราะ M-Learning เป็นเทคโนโลยีของการรับส่งข้อมูลผ่านระบบไร้สายก็มีการพัฒนามากขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้แบบ M-Learning จึงมีโอกาสเป็นไปได้สูงและเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาอีกแขนงหนึ่ง
ความหมาย  M-Learning
การผสานกันระหว่างเทคโนโลยีของอุปกรณ์พกพาต่างๆและ E- Learning ทำให้เกิด              Mobile Learning หรือ M-Learning              
                1. Mobile หมายถึง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือและเครื่องเล่นหรือแสดงภาพที่พกพาติดตัวไปได้
                2. Learning หมายถึง การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งการเรียนรู้เกิดขึ้นได้เมื่อมีการแสวงหาความรู้ การพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคคลให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นรวมไปถึงกระบวนการสร้างความเข้าใจและการถ่ายทอดประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคล
ลักษณะของ  M-Learning
เป็นการเรียนทางไกลและเวลาที่ไม่ตรงกันระหว่างครูและนักเรียนการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการใหม่ของการศึกษาทางไกลที่มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสารเทศที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมเป็นการเรียนรู้ที่ครูและนักเรียนสามารถติดต่อกันได้จากที่ห่างไกลในเวลาเดียวกันได้
รูปแบบการทำงานของ M-Learning
M- Learning คือ การเรียนรู้โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เชื่อมต่อกับข้อมูลแบบไร้สาย ซึ่งคอมพิวเตอร์แบบพกพานี้ในปัจจุบันมีอยู่มากมายซึ่งสามารถจัดเป็นประเภทของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ 
          1.    PDAs (Personal Digital Assistant) คือคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่ Pocket PC กับ Palm เครื่องมือสื่อสารในกลุ่มนี้ยังรวมถึง PDA Phone นอกจากนี้ยังหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอื่นๆอีก เช่น Lap Top, Note Book และ Tablet PC
          2.   Smart Phones คือโทรศัพท์มือถือที่บรรจุเอาหน้าที่ของ PDA เข้าไปด้วยเพียงแต่ไม่มี Stylus แต่สามารถลงโปรแกรมเพิ่มเติมเหมือนกับ PDA และ PDA phone ได้ข้อดีของอุปกรณ์กลุ่มนี้คือมีขนาดเล็กพกพาสะดวกประหยัดไฟและราคาไม่แพงมากนัก                
           3. IPod, เครื่องเล่น MP3 คือ เครื่องเสียงแบบพกพาที่สามารถรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้วยการต่อสาย USB หรือ รับด้วยสัญญาณ Bluetooth สำหรับรุ่นใหม่ๆมีฮาร์ดดิสก์จุได้ถึง 60 GB. และมีช่อง Video Out และมีเกมส์ให้เลือกเล่นได้อีกด้วย
การประยุกต์ใช้กับการศึกษา M-Learning         
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อรองรับการบริการด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้นรวมถึงทางด้านการศึกษาของไทยเนื่องจากโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกต่อการพกพาติดตัวไปไหนมาไหนตลอดเวลาจนกระทั่งเกิดการพัฒนาโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์มือถือ M-Learning (Mobile Learning) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป
การสอนที่นำเสนอผ่านโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายที่สามารถต่อเชื่อมจากเครือข่ายแม่ข่ายผ่านจุดต่อแบบไร้สาย แบบเวลาจริงอีกทั้งยังสามารถปฏิสัมพันธ์กับโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาเครื่องอื่นได้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอล เช่น Bluetooth เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกัน
ข้อดีของ M-Learning
-   มีอิสระที่จะเลือกเรียนรู้ และรับรู้
-    ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ ในการเรียนรู้
-    มีแรงจูงใจต่อการเรียนรู้มากขึ้น
-   ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้จริง
-     ด้วยเทคโนโลยีของ M - Learning ทำให้เปลี่ยนสภาพการเรียนจากที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลางไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้เรียนจึงเป็นการส่งเสริมให้มีการสื่อสารกับเพื่อนและผู้สอนมากขึ้น
ข้อจำกัดของ M-Learning
-    ขนาดของความจุ Memory และขนาดหน้าจอที่จำกัดอาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับการอ่าน ข้อมูล แป้นกดตัวอักษรไม่สะดวกรวดเร็วเท่ากับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
-     การเชื่อมต่อกับเครือข่ายยังมีราคาที่ค่อนข้างแพงและคุณภาพอาจจะยังไม่น่าพอใจนัก
-   ความแข็งแรงของเครื่องยังเทียบไม่ได้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

สมาชิกกลุ่ม
นางสาวดารินทร์ เรืองทองดี            534116236
นายประสิทธิ์พร   มาตรพรหม           534116221
นางสาวสุดารัตน์ คำโคตรสูนย์         534116234
นางสาวสุนันท์     อ่อนอ่ำ                 534116236
นางสาวเจนจิรา   ปุ่มเพชร                534116250

หมู่เรียน  53/25