วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

U-Learning

ประวัติ U-Learning

          นายบิล เกตส์ แห่งบริษัทไมโครซอฟต์ยังได้กล่าวถึงความสำคัญวิวัฒนาการจากการเรียนในลักษณะ E-Learning สู่ U-Learning ซึ่งหมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเราโดยอาศัยการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างอิสระดังนั้นการเรียนแบบ U-Learning จึงสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและโดยทุกเครื่องมือในการเข้าถึงการเรียนรู้โดยไม่จำกัดเฉพาะการเข้าถึงโดยมีเครื่องมือ เช่น โน้ตบุ๊ก PDA หรือ มือถือประเภทต่างๆเป็นต้นที่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของการประยุกต์ใช้ไอทีในด้านการศึกษาไว้ว่าประโยชน์สูงสุดของไอทีได้แก่การนำไอทีมาใช้เพื่อการศึกษาเรียนรู้
ความหมาย U-Learning
              -Learning มาจากคำว่า Ubiquitous Learning ซึ่งเป็นภาษาลาตินมีความหมายว่าอยู่ในทุกแห่งหรือ มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ซึ่ง U-Learning เป็นการผสมผสานกันของ E-Learning กับ M-Learning เป้าหมายให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามกระบวนการของ E-Learning โดยใช้อุปกรณ์ที่เป็นทั้งเครื่อง PC ที่มีระบบเครือข่ายทั้งชนิดใช้สายและไร้สายผสมผสานไปกับอุปกรณ์อื่น
ลักษณะของ U-Learning
             1.  Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้มาจากที่ใดก็ได้และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียนเพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
             2.  Multimedia สื่อ ที่นำเสนอในเว็บประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
               3.  Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ
                4.  Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม Links ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้วและผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว


รูปแบบการทำงานของ U-Learning
                1. Common Store สามารถแบ่งรายละเอียดออกเป็น 2 กลุ่มที่สำคัญ คือ
                - กลุ่มแรก ได้แก่ Learning objects และ Learning tasks เป็นส่วนที่ใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ประกอบด้วย ข้อความ รูภาพ เสียง วิดีโอ เว็บไซต์ สื่อนำเสนอต่างๆ
                - กลุ่มที่สอง ได้แก่ Learning, exposition learning communications และ administrative functions เป็นส่วนที่พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรมอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและควบคุมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
              2. Filtering criteria เป็นส่วนที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมาจาก Common Store แล้วทำการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่ากำลังสื่อสารไปยัง Desktop หรือ Mobile
               3. Rendering criteria เป็นส่วนที่ทำงานต่อมาจากส่วน Filtering criteria เพื่อทำการเลือกวิธีการนำเสนอให้เหมาะสมกับสื่อที่แตกต่างกันข้อมูลเดียวกันที่ถูกส่งไปยัง Desktop และ Mobile จะสามารถนำเสนอได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามขนาดของจอแสดงผล
การประยุกต์ใช้กับการศึกษา U-Learning
               การเรียนการสอนแบบ U-Learning ในประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เงินลงทุนสูงถึงแม้ว่าปัจจุบันระบบ GPS และอุปกรณ์สื่อสารที่เรียกว่า PDA จะแพร่หลายโดยทั่วไปแต่ราคาก็ยังค่อนข้างสูงนอกจากนั้นผู้เรียนยังต้องมี sensor ที่สามารถตรวจจับขณะเรียนซึ่งมีราคาสูงเกินไปกว่าที่จะนำมาใช้ลงทุนเพื่อการเรียนในระดับบุคคลได้
U-Learning ไม่ใช่ E-Learning ที่มีแต่เครื่องคอมพิวเตอร์และสาย LAN หรือ GPRS ซึ่งส่งภาพและข้อความให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองในระยะไกลแต่ Ubiquitous เป็นการเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้เรียนว่ามีอุปสรรคต่อการทำความรู้และความเข้าใจหรือไม่เพื่อจะได้ให้ข้อมูลเสริมหรือการช่วยด้วยวิธีการอื่นๆที่เหมาะสมตามบริบทการจะเข้าถึงสภาพแวดล้อมเช่นนั้นได้ยังเป็นเทคโนโลยีนำเข้าที่แพงเกินไปสำหรับการเรียนการสอนในประเทศไทย

ข้อดีของ U-Learning
-     การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าผู้ใช้งานจะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ
-     การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้งสถานที่และอุปกรณ์
   การบูรณาการ U-learning นั้นทำให้เกิดประโยชน์ต่อประสบการณ์การเรียนแบบกลางแจ้ง (outdoor) และการเรียนในร่ม (indoor) ตัวอย่างการเรียนกลางแจ้งได้แก่ในส่วนศูนย์กลางของเมือง ในป่า ส่วนการเรียนในร่ม ได้แก่ ในพิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ ห้องปฏิบัติการหรือที่บ้าน

ข้อจำกัดของ U-Learning
-     ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อให้ครอบคลุมถึงขนาด Ubiquitous  ต้องใช้การลงทุนสูงมาก
-     จำนวนผู้ใช้บริการและผู้ที่มีความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวยังน้อยไม่คุ้มค่าการลงทุน

สมาชิกกลุ่ม
นางสาวดารินทร์ เรืองทองดี            534116236
นายประสิทธิ์พร   มาตรพรหม           534116221
นางสาวสุดารัตน์ คำโคตรสูนย์         534116234
นางสาวสุนันท์     อ่อนอ่ำ                 534116236
นางสาวเจนจิรา   ปุ่มเพชร                534116250
หมู่เรียน  53/25



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น