วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Learning Management System (LMS)

ความหมาย

                LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้

ลักษณะของ LMS

              เป็นคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อบันทึกและจัดข้อมูลการเรียนการสอนโดยโปรแกรมจะทำหน้าที่ตรวจสอบการเข้ามาใช้บทเรียนและออกจากบทเรียนของผู้เรียนตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนในแต่ละบทรวมทั้งการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์คะแนนสอบของผู้เรียนแต่ละคนด้วยตัวเอง LMS ก็เปรียบเสมือนกับโรงเรียนเมื่อคุณล็อกอินเข้าสู่ระบบ LMS เพื่อเข้าเรียนก็เหมือนกับคุณก้าวเท้าเข้าสู่ประตูโรงเรียนคุณสามารถทำอะไรก็ได้ใน LMS เหมือนกับที่คุณทำได้ในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นการเลือกวิชาที่จะลงเรียน การเข้าไปอ่านเนื้อหาของบทเรียน ทำแบบฝึกหัด ทำแบบทดสอบและมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ผู้สอนหรือนักเรียนคนอื่นๆ อาจารย์ผู้สอน, ผู้ดูแลระบบ, ผู้จัดการ สามารถสังเกตดูพฤติกรรมการเข้าเรียนของคุณผ่านข้อมูลที่ได้ถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลของ LMS

ประเภทของ LMS

                LMS สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันตามการใช้งาน ประเภทแรกคือ กลุ่มซอฟท์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีลิขสิทธิ์ในการใช้งานแบบ GPL ส่วนประเภทที่สองคือ กลุ่มซอฟต์แวร์เอกชนเพื่อธุรกิจ ซึ่งต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ให้กับบริษัทแม่ซึ่งเป็นเจ้าของซอฟท์แวร์ LMS พวกนี้
1.กลุ่มซอฟท์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ได้แก่
• Moodle (www.moodle.org) (แพร่หลายมากที่สุด)
• ATutor (www.atutor.ca)
2.กลุ่มซอฟร์แวร์เอกชนเพื่อธุรกิจ ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ได้แก่
• Dell Learning System (DLS) (www.dell.com)
 • De-Learn (www.de-learn.com)

รูปแบบการทำงานของ LMS

                สำหรับผู้ใช้งานในระบบ LMS นั้นสามารถที่จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน คือ
1. กลุ่มผู้บริหารระบบ (Administrator) ทำหน้าที่ในการติดตั้งระบบ LMS การกำหนดค่าเริ่มต้นของระบบ การปรับแต่งระบบ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบฉากหลังเว็บ การเพิ่มเติมโปรแกรมอิสระ เป็นต้น
2. กลุ่มอาจารย์หรือผู้สร้างเนื้อหาการเรียน (Teacher) : ทำหน้าที่ในการจัดการเนื้อหา บทเรียนต่างๆ เข้าระบบ
3. กลุ่มผู้เรียน (Student) : หมายถึงนักเรียน นักศึกษา ที่สมัครเข้าเรียนตามหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งการทำแบบฝึกหัด

การประยุกต์ใช้กับการศึกษา

          ปัจจุบันการเรียนการสอนได้มีการพัฒนา E-Learning มาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีการสร้าง Software การบริหารจัดการการเรียนการสอนในรูปแบบ E-Learning ขึ้นมากมายทั้งที่เป็น Open Source หรือเป็น software ที่มีลิขสิทธิ์ ต่างๆ ซึ่งในการพัฒนาระบบ E-Learning ในปัจจุบัน ได้นำ“ระบบบริหารจัดการเรียนการสอนที่เรียกว่าระบบแอลเอ็มเอส (LMS)” หรือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านทางเว็บไซต์ ดังนั้น การนำระบบแอลเอ็มเอส (LMS) มาประยุกต์ใช้จะทำให้เกิดคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ ในด้านการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น

ข้อดีของ LMS

1.ระบบจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน ครอบคลุมเครื่องมือที่หลากหลายขึ้นมาก
2. รายการของเครื่องมือบนระบบการจัดการการเรียนการสอนที่ใช้ในการประเมินมีการจัดระบบที่ไม่สลับซับซ้อน
3. การพัฒนาระบบการจัดการการเรียนการสอนในปัจจุบันยังครอบคลุมในด้านของคุณภาพของเครื่องมือบางประเภทด้วย
4. การเรียนการสอนส่วนใหญ่ในขณะนี้สามารถนำไปเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ
5. ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดระบบฯ มาพัฒนา หรือปรับใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ข้อเสียของ LMS

1. เครื่องมือต่างๆ ที่มีการพัฒนายังไม่สามารถสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามหลักทางครุศาสตร์
2. ทางด้านการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งยังไม่ยืดหยุ่นเพียงพอสำหรับความต้องการของผู้สอน
3. จึงทำให้การจัดการเรียนรู้ด้วยระบบฯ ที่ได้พัฒนาขึ้นมักอยู่ในลักษณะซ้ำๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น