วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

E-Learning


E-Learning มีพัฒนาการมาจากการศึกษาทางไกลผ่านระบบไปรษณีย์ (Home-study Program) เป็นการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการเรียนที่บ้านหรืออยู่ห่างไกลสถานศึกษา ต่อการเรียนรู้แบบนี้ต้องปัญหาในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งใช้เวลานานและบางครั้งเกิดสูญหายระหว่างทางส่งข้อมูล เมื่อปี ค.ศ. 1960 มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษา จึงนำคอมพิวเตอร์และโสตทัศนวัสดุมาใช้ประกอบการเรียนการสอน เช่น เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง ต่อมาเป็นการใช้ซีดี-รอม ในวงการศึกษาเรียกว่า CAI และ CBT ในการฝึกอบรมของวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 มีการใช้อินเทอร์เน็ต จึงมีการพัฒนาการเรียนการสอนผ่าน World Wide Web ที่เรียกว่า Web-based education หรือ Web-based instruction  และทำให้เกิดการเรียนการสอนแบบ e-Learning
                e-Learning เป็นรูปแบบการเรียนที่ตอบสนองการเรียนรู้ในลักษณะทางไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเรียนในห้องเรียนของสถานศึกษา และยังสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ใช้ในการศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนจะต้อง ศึกษาเนื้อหาจาก e-Learning Courseware

ลักษณะสำคัญของ E-learning มีดังนี้
                1.  Anywhere, Anytime and Anybody คือ เป็นการเรียนตามอัธยาสัย สามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
                2.  Multimedia เป็นสื่อการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยการนำเสนอผ่านเว็บ
                3.  Non-Linear เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนตามหน่วยการเรียนรู้ สามารถเลือกเรียนเนื้อหาตามความต้องการของตนเองได้
                4.  Interactive  ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้ ผ่านทางผ่านระบบเมล์ ICQ, Microsoft Messenger และสมุดเยี่ยม

ประเภทของ E - Learning
                1. แบบการสอน (Instruction)
                2. แบบสอนซ่อมเสริมหรือทบทวน (Tutorial)
                3. แบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติ (Drill and Practice)
                4. แบบสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation)
                5. แบบสร้างเป็นเกม (Game)
                6. แบบการแก้ปัญหา (Problem Solving)
                7. แบบทดสอบ (Test)
                8. แบบสร้างสถานการณ์เพื่อให้ค้นพบ (Discovery)

               
รูปแบบการนำเสนอผลงานหรือบทเรียน แบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
-                    การนำเสนอในลักษณะ Web Based Learning
-                    การนำเสนอในลักษณะ E-Learning

Web Based Learning (WBL) เป็นรูปแบบของการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีเว็บเพจเป็นสื่อในการนำเสนอ สามารถแบ่งลักษณะของเนื้อหาที่นำเสนอได้ 3 รูปแบบใหญ่ คือ
1.             Text Online เป็นลักษณะของเว็บไซต์ WBI ที่นำเสนอด้วยข้อความทั้งที่อยู่ในรูปของ Text หรือเอกสาร PDF หรือ PPT เพื่อให้ดาวน์โหลดไปเรียกดู เช่นเว็บไซต์ www.school.net.th/library,
www.uni.net.th
2.             Low Cost Multimedia Online เป็นเว็บไซต์ WBI ที่ผู้เรียนสามารถเข้าไปศึกษานำเสนอด้วยสื่อต่างๆ โดยไม่ต้องเข้าระบบ  เช่น เว็บไซต์ www.kradandum.com/classroom/index.htm
3.             Full Multimedia Online จัดเป็น WBI ที่ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย และ Web Programming มาควบคุมการนำเสนอ เช่น ระบบสมาชิกระบบทดสอบและรายงานผล แต่ยังขาดระบบติดตาม, ตรวจสอบและรายงานผลการใช้งานและบริหารจัดการเนื้อหา เช่นเว็บไซต์  www.thaiwbi.com
               
การประยุกต์ใช้ E-Learning กับการศึกษา
1.             คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งเรียกว่าบทเรียน CAI เป็นบทเรียนสำเร็จรูปที่ประกอบด้วยสือหลากหลายชนิด เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด
2.             การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอนที่เป็นเทคโนโลยี ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา ได้แก่
-                   การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction)
-                   การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Training)
-                   การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction)
-                   การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)
3.             อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค (E-Book ) คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าไปการศึกษาได้ตามความต้องการและสภาพของตนเอง e-Book สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเนื้อหาได้
4.             ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่สามารถเลือกรายการวีดีทัศน์ที่ตนเองต้องการชม โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้
5.             การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบัน www. เป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ตที่ใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 
6.             อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก มีประโยชน์ในการสร้างสื่อ CAI E – Learning E-book และการค้นคว้า เผยแพร่ข้อมูลทางการศึกษา

ข้อดีของ E - Learning
1.  เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว
                2. ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
                3. ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
4. e-Learning  ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้สอน ในด้านเวลาและระยะทาง
                5. e-Learning ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข้อจำกัดของ E - Learning  
         1.  การออกแบบ/รูปแบบ e - Learning มีผลต่อความสนใจของผู้เรียนได้ หาก e – Learning ไม่มีความน่าสนใจ จะมีผลต่อประสิทธิภาพของผู้เรียนและผู้สอน
        2 .  ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
        3.   ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
        4.    ผู้เรียนและผู้สอน มีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
        5.     ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้


สมาชิกกลุ่ม
นางสาวดารินทร์ เรืองทองดี            534116236
นายประสิทธิ์พร   มาตรพรหม           534116221
นางสาวสุดารัตน์ คำโคตรสูนย์         534116234
นางสาวสุนันท์     อ่อนอ่ำ                 534116236
นางสาวเจนจิรา   ปุ่มเพชร                534116250
หมู่เรียน  53/25




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น