วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Cloud computing


ความหมายของ Cloud Computing

ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) หมายถึง ทรัพยากรสำหรับการประมวลผลที่มีการจัดเตรียมโดยบุคคลที่สาม ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้ถูกจัดเตรียมไว้ที่ตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์คอมพิวเตอร์  ฝั่งผู้ให้บริการ  จากนั้นผู้ใช้บริการสามารถเข้าไปใช้งานทรัพยากรเหล่านี้โดยการซื้อ หรือเช่าได้ตามความต้องการของผู้ใช้โดยไม่ต้องคำนึงว่าทางผู้ให้บริการทรัพยากร จะบริหารทรัพยากรให้มีความสามารถขยายตัวด้วยวิธีอะไรแนวคิดการใช้งานทางด้าน ไอทีที่ใช้วิธีการดึงสมรรถภาพจากคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องจากสถานที่ต่าง ๆ ให้มาทำงานร่วมกันเพื่อช่วยขยายการบริการทางด้านไอที

ลักษณะเด่นของระบบ Cloud computing

- ประหยัดงบประมาณในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
- ไม่จำกัดสถานที่ในการใช้งานและอุปกรณ์ แค่สามารถออนไลน์เข้าอินเทอร์เน็ตได้ก็สามารถใช้งาน Cloud computing ได้เลย
- กลุ่มผู้ใช้งานมีความต้องการการใช้งานไม่เท่ากัน ทำให้ประหยัดในการลงทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ในการใช้งานใน Cloud computing
- สามารถจัดการหรือปรับเปลี่ยนระบบได้ง่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน (Performance) หรือประหยัดการใช้งานทรัพยากรต่างๆ โดยไม่ต้องใช้วิศวกรที่มีความสามารถสูง ลดภาระด้านการจ้างบุคคล

ประเภทของ Cloud computing

Cloud computing สามารถแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะของ Infrastructure ได้ 3 ประเภท คือ
                  1. Public cloud จะรันและให้บริการบน Cloud’s servers, ระบบเก็บข้อมูล และ networks ที่เป็นของผู้ให้บริการ ซึ่งผู้ใช้บริการต่างๆ จะเข้าไปใช้บริการ Application หรือ Service ที่ต้องการได้ตามที่ผู้ให้บริการได้เปิดให้ใช้บริการ Application หรือ Service นั้น
        2. Private cloud จะรันและให้บริการบน servers, ระบบเก็บข้อมูล และ networks ที่เป็นของผู้ใช้บริการเอง หรือเปิดให้ใช้เฉพาะผู้ใช้บริการรายนั้นๆ โดยที่ผู้ใช้บริการเป็นผู้ควบคุมและจัดการระบบเอง ซึ่งผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ติดตั้ง, Setup และ Support เท่านั้น
        3. Hybrid cloud จะประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมที่เกิดจากผู้ให้บริการหลาย ๆ แหล่งทั้ง Private cloud และ Public cloud โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปทางระบบเอ็นเตอร์ไพรส์ หรือเน้นทางด้านกิจกรรมต่าง ๆ

รูปแบบการให้บริการของ Cloud Computing

รูปแบบการให้บริการของ Cloud computing สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ
                ในระดับ Infrastructure หรือเรียกว่า Infrastructure as a service (IaaS) เหมาะสมกับองค์กรที่ไม่ต้องการลงทุนทางด้าน Hardware ซึ่งก็คือ การให้บริการในด้านต่างๆ ดังนี้
                ทรัพยากร (Resource) ต่างๆ ในรูปของ Service เช่น พวก Server, Memory, CPU, Disk Space หรือ Network Equipment เป็นต้น การขยายขนาดของ Infrastructure ซึ่งสามารถทำให้เล็กหรือใหญ่ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของ Application การกำหนดราคาในการให้บริการแล้วแต่ว่าเราเลือกใช้บริการทรัพยากรในส่วนใด
ในระดับ Platform นั้นเป็นส่วนขยายเพิ่มเติมมาจาก Software as a service หรือ SaaS โดยตัว PaaS ก็คือส่วนที่จะคอยรองรับกระบวนการพัฒนา Web Application หรือ Service ต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการพัฒนาโดยทุกอย่างนั้นอยู่ในอินเตอร์เน็ต ตัวอย่าง workflow สำหรับการออกแบบแอพพลิเคชัน การพัฒนาแอพพลิเคชัน การทดสอบหรือการติดตั้ง และ Hosting เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้นั้นสามารถที่จะสร้างแอพพลิเคชัน อะไรก็ได้ ใช้ Database อะไรก็ได้ ด้วย Logic การทำงานแบบใดก็ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นเครื่องมือเตรียมความพร้อมสำหรับองค์กรต่างๆเข้ามาพัฒนา Software เพื่อที่จะให้บริการในระดับของ Software as a service ในอนาคต
ในระดับ Application หรือที่เรียกกันว่า Software as a service หรือ SaaS นั้น มี Software ระดับ Enterprise ให้เลือกใช้อย่างมากมาย โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก นั่นคือการให้บริการ Software ในรูปแบบ Service เล็กๆ ที่ทำหน้าที่เฉพาะทาง ทำงานตาม function ที่กำหนดไว้ ไม่ได้ทำงานเหมือน application ใหญ่ๆ ที่มีความสามารถมากมายรวมอยู่ในตัวเดียว โดยการใช้งานนั้นผู้ใช้ SaaS เองไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ Service นั้นๆ เพราะเราสามารถเลือกใช้บริการ service ของผู้ให้บริการใดก็ได้ในลักษณะของการเช่า หรือสมัครเป็นสมาชิกเพื่อใช้งาน Service นั้นๆ ผู้ให้บริการมีหน้าที่ให้บริการและ สร้าง Service ใหม่ๆขึ้นมา และดูแลระบบต่างๆ ให้สามารถให้บริการตัว Service นั้นได้ตามความต้องการของลูกค้า การให้บริการ Applications ต่างๆ ตัวอย่างง่ายๆ ได้แก่ Google Apps หรือว่าการให้บริการ E- mail ก็ถือเป็น Saas รูปแบบหนึ่ง

การใช้ Cloud computing ในการเรียนการสอน

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมที่หลากหลายของคนในสังคม โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งจำเป็นของสังคม ทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน ธุรกิจ การศึกษา และบันเทิง เทคโนโลยี Cloud-computing เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวคิดการทำงานบนอินเตอร์เน็ต ที่แพร่หลายและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย Cloud-computing เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการบูรณาการวิทยาการทางเครือข่ายและคอมพิวเตอร์  การจัดเก็บข้อมูล การบริการทรัพยากรข้อมูลไว้ด้วยกัน

ข้อดี ข้อเสีย ของ Cloud Computing

ข้อดี
1. ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งานจริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย
2. ลดความเสี่ยงจากการเริ่มต้นหรือทดลองโครงการ
3. มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบตามความต้องการ
4. ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็วสูง
5. มีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบและพร้อมให้บริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง

ข้อเสีย
1. เนื่องจากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการ Host ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง
2. ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล

3. ความไม่มีมาตรฐานของแพลทฟอร์ม ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น