วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

M-Learning


                                    http://mlearning.wu.ac.th/moodle145/login/index.php
      

           ประวัติ  M-Learning
               M-Learning นั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นช่องทางใหม่ที่จะกระจายความรู้สู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ M-Learning เป็นสิ่งที่น่าสนใจของนักการศึกษาเพราะ M-Learning เป็นเทคโนโลยีของการรับส่งข้อมูลผ่านระบบไร้สายก็มีการพัฒนามากขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้แบบ M-Learning จึงมีโอกาสเป็นไปได้สูงและเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาอีกแขนงหนึ่ง
ความหมาย  M-Learning
การผสานกันระหว่างเทคโนโลยีของอุปกรณ์พกพาต่างๆและ E- Learning ทำให้เกิด              Mobile Learning หรือ M-Learning              
                1. Mobile หมายถึง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือและเครื่องเล่นหรือแสดงภาพที่พกพาติดตัวไปได้
                2. Learning หมายถึง การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งการเรียนรู้เกิดขึ้นได้เมื่อมีการแสวงหาความรู้ การพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคคลให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นรวมไปถึงกระบวนการสร้างความเข้าใจและการถ่ายทอดประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคล
ลักษณะของ  M-Learning
เป็นการเรียนทางไกลและเวลาที่ไม่ตรงกันระหว่างครูและนักเรียนการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการใหม่ของการศึกษาทางไกลที่มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสารเทศที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมเป็นการเรียนรู้ที่ครูและนักเรียนสามารถติดต่อกันได้จากที่ห่างไกลในเวลาเดียวกันได้
รูปแบบการทำงานของ M-Learning
M- Learning คือ การเรียนรู้โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เชื่อมต่อกับข้อมูลแบบไร้สาย ซึ่งคอมพิวเตอร์แบบพกพานี้ในปัจจุบันมีอยู่มากมายซึ่งสามารถจัดเป็นประเภทของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ 
          1.    PDAs (Personal Digital Assistant) คือคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่ Pocket PC กับ Palm เครื่องมือสื่อสารในกลุ่มนี้ยังรวมถึง PDA Phone นอกจากนี้ยังหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอื่นๆอีก เช่น Lap Top, Note Book และ Tablet PC
          2.   Smart Phones คือโทรศัพท์มือถือที่บรรจุเอาหน้าที่ของ PDA เข้าไปด้วยเพียงแต่ไม่มี Stylus แต่สามารถลงโปรแกรมเพิ่มเติมเหมือนกับ PDA และ PDA phone ได้ข้อดีของอุปกรณ์กลุ่มนี้คือมีขนาดเล็กพกพาสะดวกประหยัดไฟและราคาไม่แพงมากนัก                
           3. IPod, เครื่องเล่น MP3 คือ เครื่องเสียงแบบพกพาที่สามารถรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้วยการต่อสาย USB หรือ รับด้วยสัญญาณ Bluetooth สำหรับรุ่นใหม่ๆมีฮาร์ดดิสก์จุได้ถึง 60 GB. และมีช่อง Video Out และมีเกมส์ให้เลือกเล่นได้อีกด้วย
การประยุกต์ใช้กับการศึกษา M-Learning         
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อรองรับการบริการด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้นรวมถึงทางด้านการศึกษาของไทยเนื่องจากโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกต่อการพกพาติดตัวไปไหนมาไหนตลอดเวลาจนกระทั่งเกิดการพัฒนาโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์มือถือ M-Learning (Mobile Learning) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป
การสอนที่นำเสนอผ่านโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายที่สามารถต่อเชื่อมจากเครือข่ายแม่ข่ายผ่านจุดต่อแบบไร้สาย แบบเวลาจริงอีกทั้งยังสามารถปฏิสัมพันธ์กับโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาเครื่องอื่นได้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอล เช่น Bluetooth เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกัน
ข้อดีของ M-Learning
-   มีอิสระที่จะเลือกเรียนรู้ และรับรู้
-    ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ ในการเรียนรู้
-    มีแรงจูงใจต่อการเรียนรู้มากขึ้น
-   ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้จริง
-     ด้วยเทคโนโลยีของ M - Learning ทำให้เปลี่ยนสภาพการเรียนจากที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลางไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้เรียนจึงเป็นการส่งเสริมให้มีการสื่อสารกับเพื่อนและผู้สอนมากขึ้น
ข้อจำกัดของ M-Learning
-    ขนาดของความจุ Memory และขนาดหน้าจอที่จำกัดอาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับการอ่าน ข้อมูล แป้นกดตัวอักษรไม่สะดวกรวดเร็วเท่ากับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
-     การเชื่อมต่อกับเครือข่ายยังมีราคาที่ค่อนข้างแพงและคุณภาพอาจจะยังไม่น่าพอใจนัก
-   ความแข็งแรงของเครื่องยังเทียบไม่ได้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

สมาชิกกลุ่ม
นางสาวดารินทร์ เรืองทองดี            534116236
นายประสิทธิ์พร   มาตรพรหม           534116221
นางสาวสุดารัตน์ คำโคตรสูนย์         534116234
นางสาวสุนันท์     อ่อนอ่ำ                 534116236
นางสาวเจนจิรา   ปุ่มเพชร                534116250

หมู่เรียน  53/25


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น